วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูหลุมอีกหนึ่งการเกษตรชนบทในชุมชนบ้านทับไท

เลี้ยงหมูหลุมกับบ้านทับไท


                         "หมูหลุม" เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
 ประโยชน์ของการเลี้ยง
1. ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 70 %
2. ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกร เนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
3. ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู " ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน"
4. ได้ปุ๋ยอินทรีย์
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
1. ควรสร้างบนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
3. วัสดุมุงหลังคา เช่น แฝก จาก กระเบื้อง
4. พื้นที่สร้างคอก คำนวณจาก จำนวนสุกร 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.2 ตารางเมตร
การเตรียมพื้นที่คอกหมูหลุม1. ขุดดินออกในส่วนพท้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 ซม.
2. ใส่แผ่นไม้หรืออิฐบล๊อค กั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุม สูงประมาณ 1 ฟุต
3. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย
  • ขี้เลื่อย หรือแกลบ          100 ส่วน
  • ดินส่วนที่ขุดออก             10 ส่วน
  • เกลือ                               0.5 ส่วน

                          ผสมขี้เลื่อยหรือแกลบกับดินและเกลือใส่ลงไปเป็นชั้น ๆ สูงชั้นละ 30 ซม. แล้วราดด้วยน้ำหมักชีวภาพลงบนแกลบ ให้มีความชื้นพอหมาด ๆ โรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ ทำจนครบ 3 ชั้น  ชั้นบนสุดโดรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ
4. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
การจัดการเลี้ยงดู
  1. การนำลูกหมู ควนมีน้ำหนักตั้งแต่ 15-20 กก.
  2. ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อน หลังจากนั้นเมื่อเป็นหมูรุ่น (น้ำหนัก 30-40 กก.) ค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารผสมพวกรำ  ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
  3. น้ำดื่มให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร น้ำหมักผลไม้ อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
  4. ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
  5. หากขี้เลื่อยหรือกลบยุบตัวลงให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
สูตรอาหารหมักสำหรับหมูหลุม
วัตถุดิบ
- พืชสีเขียวหรือผลไม้   100 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายแดง           4  กิโลกรัม
- เกลือเม็ด                       1  กิโลกรัม
วิธีการทำ
1. นำผลไม้หรือพืชผักสีเขียวที่เหลือใช้จากครัวเรือนหรือการเกษตร เช่น หยวกกล้วย บอน ปอสา พืชสีเขียวหรือเศษผักต่าง ๆ นำมาสับให้ละเอียด
2. นำน้ำตาลทราบอดงและเกลือเม็ดโรยคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. เอาบรรจุลงในถังหมักโดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือ 1 ใน 3 ส่วนของถัง ปิดด้วยกระดาษที่อากาศผ่านเข้าออกได้หมักไว้ 7 วัน ถ้าอากาศร้อน 5 วัน ก็ใช้ได้
 วิธีการใช้
               นำส่วนพืชหมักผสมกับรำข้าวอ่อนและปลายข้าวในอัตราส่วน พืชหมัก : รำอ่อน : ปลายข้าว : เท่ากับ  2 : 2 : 1 ให้หมูกินวันละ 2 มื้อ เช้า เย็นส่วนน้ำที่ได้จากการหมักก็นำมารดคอกหมู เพื่อลดกลิ่นหมูได้ 

2 ความคิดเห็น:

  1. เรียนจบไปเป็นเกษตรกรเลี้ยงหมูหลุมได้เลย
    -เป็นอาชีพเสริม
    -รับรองรวย

    ตอบลบ
  2. คาดว่าจะเป็นหมูก่อนเรียนจบ ฮ่าๆ-0- ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆค่ะอาจารย์ ^ ^

    ตอบลบ