วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูหลุมอีกหนึ่งการเกษตรชนบทในชุมชนบ้านทับไท

เลี้ยงหมูหลุมกับบ้านทับไท


                         "หมูหลุม" เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
 ประโยชน์ของการเลี้ยง
1. ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 70 %
2. ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกร เนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
3. ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู " ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน"
4. ได้ปุ๋ยอินทรีย์
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
1. ควรสร้างบนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
3. วัสดุมุงหลังคา เช่น แฝก จาก กระเบื้อง
4. พื้นที่สร้างคอก คำนวณจาก จำนวนสุกร 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.2 ตารางเมตร
การเตรียมพื้นที่คอกหมูหลุม1. ขุดดินออกในส่วนพท้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 ซม.
2. ใส่แผ่นไม้หรืออิฐบล๊อค กั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุม สูงประมาณ 1 ฟุต
3. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย
  • ขี้เลื่อย หรือแกลบ          100 ส่วน
  • ดินส่วนที่ขุดออก             10 ส่วน
  • เกลือ                               0.5 ส่วน

                          ผสมขี้เลื่อยหรือแกลบกับดินและเกลือใส่ลงไปเป็นชั้น ๆ สูงชั้นละ 30 ซม. แล้วราดด้วยน้ำหมักชีวภาพลงบนแกลบ ให้มีความชื้นพอหมาด ๆ โรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ ทำจนครบ 3 ชั้น  ชั้นบนสุดโดรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ
4. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
การจัดการเลี้ยงดู
  1. การนำลูกหมู ควนมีน้ำหนักตั้งแต่ 15-20 กก.
  2. ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อน หลังจากนั้นเมื่อเป็นหมูรุ่น (น้ำหนัก 30-40 กก.) ค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารผสมพวกรำ  ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
  3. น้ำดื่มให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร น้ำหมักผลไม้ อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
  4. ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
  5. หากขี้เลื่อยหรือกลบยุบตัวลงให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
สูตรอาหารหมักสำหรับหมูหลุม
วัตถุดิบ
- พืชสีเขียวหรือผลไม้   100 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายแดง           4  กิโลกรัม
- เกลือเม็ด                       1  กิโลกรัม
วิธีการทำ
1. นำผลไม้หรือพืชผักสีเขียวที่เหลือใช้จากครัวเรือนหรือการเกษตร เช่น หยวกกล้วย บอน ปอสา พืชสีเขียวหรือเศษผักต่าง ๆ นำมาสับให้ละเอียด
2. นำน้ำตาลทราบอดงและเกลือเม็ดโรยคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. เอาบรรจุลงในถังหมักโดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือ 1 ใน 3 ส่วนของถัง ปิดด้วยกระดาษที่อากาศผ่านเข้าออกได้หมักไว้ 7 วัน ถ้าอากาศร้อน 5 วัน ก็ใช้ได้
 วิธีการใช้
               นำส่วนพืชหมักผสมกับรำข้าวอ่อนและปลายข้าวในอัตราส่วน พืชหมัก : รำอ่อน : ปลายข้าว : เท่ากับ  2 : 2 : 1 ให้หมูกินวันละ 2 มื้อ เช้า เย็นส่วนน้ำที่ได้จากการหมักก็นำมารดคอกหมู เพื่อลดกลิ่นหมูได้ 

ภาพการศึกษาดูงานที่จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ 2554

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554

                       ศูนย์ เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกสุรินทร์ บ้านทับไทย ที่นี้เราได้พบกับอาจารย์กัญญา อ่อนศรี และคุณลุงวรพล พอตัว อาจารย์ทั้งสองได้ให้ความรู้ในเรื่อของการรวมกลุ่ม ก่อตั้งเมื่อ พศ. 2542 การ พึ่งพาตนเอง อาจารย์กัญญาผู้ก่อตั้ง ตลาดเขียว หรือตลาดปลอดสารพิษ นอกจากนี้อาจารย์กัญญายังได้ไปดูงานที่ต่างประเทศอีกหลายๆประเทศ ส่วนคุณลุงวรพลมีการรวบรวมข้อมูลทำเป็นหนังสือ เกษตรอินทรีย์ 4 ปีให้ผลอีกด้วย

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554

                     ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 พ่อ คำเดื่อง ภาษี พ่อคำเดื่อง สอนรู้จักการใช้ชีวิต การเกิดมีชีวิตดีอย่างไร สอนให้รู้จักโลก โลกของเราโดนคนทำอะไรไว้บ้าง พ่อคำเดื่องบอกว่าเราเชื่อตามชาวต่างชาติมาก ต่อไปนี้เราจะต้องเชื่อตัวเอง ให้ตัวเองเป็นคนนำ ในไร่ของพ่อคำเดื่องมีการทำเกษตรปราณีตคือทำได้ในพื้นที่แคบๆ มีข้าวสีเหล็ก เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน ที่ดินของพ่อคำเดื่องปลูกต้นไผ่ไว้ล้อมรอบ ด้านในปลูกกล้วยไล่ลำดับลงมา

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554


                      การทำเกษตรผสมผสานของพ่อสุวรรณ กันภัย พ่อสุวรรณเป็นลูกชาวนา มีฐานะยากจน คุณพ่อเสียตั้งแต่อายุ 12 ปี พ่อสุวรรณมีพี่นอง 5 คนเมื่อก่อนพ่อสุวรรณไปทำสวนยางอยู่ที่ภูเก็ตและไปอยู่กรมทดลองพันธืไม้ทุกชนิด ที่ดินในปัจจุบันนั้นเป็นของพ่อตาแม่ยาย ที่ดิน 9 ไร่ของพ่อสุวรรณเป็นพื้นที่เพาะปลูก ไม่ใช้การทำนา มีการทำสวนผสม เมื่อก่อนพ่อสุวรรณปลูกต้นมะนาว 200 ต้นเพื่อทดแทนการสั่งมะนาวจากกรุงเทพฯ เป็นพันธุ์ใหม่ที่พ่อคิดขึ้นเอง ปักกิ่งเอง ตอนเอง พ่อทำเองหมดและส่งขายในสามอำเภอในสุรินทร์ ลูกมะนาวขึ้นดกเต็มต้นแต่สุดท้ายก็ตายหมด พ่อบอกว่าทุกอย่างทำต้องมีจิตกำหนด ทำไปเรื่อยๆแล้วจะเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมาเอง พ่อสุวรรณเป็นผู้นำโดยให้คนอื่นเห็นแล้วทำตาม

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554

                        พ่อ เสวย ผู้รอบรู้ด้านสมุนไพร พ่อเสวยมีความรู้เรื่องสมุนไพรมาตั้งแต่อายุสามขวบและรู้จักนั่งสมาธิ ตั้งแต่สามขวบเช่นกัน เคยเรียนที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ เคยเป็นทหารพลร่มและออกจากราชการเมื่ออายุ 52 ปี พ่อเสวยถือศีล 5 และศีล 8 ถือสินมาแล้วสามสิบปี พ่อเสวยได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากคุณยาย คุณยายที่เป็นคนเขมรสุรินทร์

ความประทับใจที่แตกต่าง
               จากการไปดูงานเป็นเวลา 4 วัน 3 คืนที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ความรู้ที่เยอะมากบวกกับความแตกต่างในแต่ละความรู้ จากการถ่ายทอดจากปราชญ์ชาวบ้านแต่ละท่าน ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆที่ไม่เคยได้พบเจอ ได้รู้ถึงประวัติของนักปราชญ์แต่ละท่าน การต่อสู้ชีวิตของท่าน จนมีวันนี้ได้แต่ล่ะท่านได้ผ่านอุปสรรค ความยากลำบากมาเพียงใด จนประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ เป็นที่นับถือ เป็นที่เคารพของผู้คนมากมาย นอกจากได้ความรู้แล้วยังได้ความสนุกสนานกับการไปเที่ยวที่สวนช้างจังหวัดสุรินทร์และปราสาทเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์อีกด้วย การดูงานครั้งนี้เป็นไปตามความคาดหวังของข้าพเจ้าคือ มาเพื่อนำประสบการณ์กลับไป




ตลาดเขียว [ตลาดปลอดสารพิษ] จังหวัดสุรินทร์




              

ศูนย์ศึกษาคชสาร
จังหวัดสุรินทร์  




ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์











                                                  เพื่อนๆที่น่ารัก ^ ^

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

"การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ"


                ทำไมกลุ่มผู้สูงอายุถึงมีความสำคัญ "เพราะว่าคนไทยนับถือและให้ความเคารพกับผู้สูงอายุหรือผู้มีอวุโสกว่ามาตั้งแต่ในอดีตแล้ว" ปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี โดยในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการว่ามีผู้สูงอายุถึง 140,000 คนและจะเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก 15 ปีข้างหน้าใน ขณะที่วัยทำงานซึ่งเป็นวัยที่ช่วยเหลือกลับลดลงตามกาลเวลา ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผู้สูงอายุเหล่านั้นจึงต้องพึ่งพิงบุตรหลาน ตลอดจนความช่วยเหลือจากรัฐ และหากความช่วยเหลือจากรัฐนั้นต้องมาจากภาษีของประชากรวัยทำงาน ในอนาคตอันใกล้นี้ภาระแบกรับเหล่านี้จะกลายเป็นภาระที่หนักมากสำหรับประชากร วัยทำงาน และจะกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในอนาคต
                 ดังนั้นคนในสังคมต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะสูงวัย ทั้งการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจการเงิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงสุขภาพ หากแต่ที่สำคัญคือจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 กลับพบว่าผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 43 หรือเกือบครึ่ง ที่ไม่ได้เตรียมการเพื่อยามสูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพกาย ด้านการศึกษาธรรมะหรือเข้าหาศาสนา การเตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัย หลักประกันด้านการเงิน ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยต้องตกอยู่ในภาวะยากจน และลำบากเมื่อเข้าสู่ภาวะสูงวัย ประเด็นที่ยังคงน่าเป็นห่วงในปัจจุบันคือ ประชากรไทยมีการเตรียมการเพื่อยามสูงวัยค่อนข้างช้าหรือเตรียมตัวเมื่ออายุค่อนข้างมาก ทั้ง ที่ในหลายเรื่องควรจะเตรียมตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยเริ่มทำงานอย่างเช่นใน เรื่องของการออมควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้มีวินัยและติดเป็นนิสัย แต่ที่ผ่านมาพบว่าประชากรไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และในด้านสุขภาพก็เช่นกัน ความใส่ใจสุขภาพควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่เมื่อสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้เสื่อมถอยลงจนอาจสายเกินไปที่จะฟื้นฟู หรือเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพเท่านั้น การเตรียมตัวนั้นควรเตรียมตัวในทุกๆด้าน เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้มากและนานที่สุดทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การอยู่อาศัย และการเงิน

การขอสวัสดิการผู้สูงอายุจากรัฐบาลในการรับเงินสวัสดิการ 500 บาทนั้นมีเอกสารดังนี้
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
ในประเทศไทยเรา ถือว่ามีผู้สูงอายุ ถึง 11 เปอเซ็นต์ซึ่งเป็นอัตตราของผู้สูงอายุที่ค่อนข้างสูงโดยปกติแล้ว มีข้อกำหนด อยู่ที่ 10 เปอเซ็นต์ถ้ามากกว่านี้ ถือว่าสังคมนั้น "เข้าสู่สังคมสูงอายุแล้ว"
คำ ว่าผู้สูงอายุ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทยอีกต่อไป ซึ่งทุกคนควรต้องทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการรับมือก่อนที่สังคมไทย และสังคมโลกจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต