วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูหลุมอีกหนึ่งการเกษตรชนบทในชุมชนบ้านทับไท

เลี้ยงหมูหลุมกับบ้านทับไท


                         "หมูหลุม" เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
 ประโยชน์ของการเลี้ยง
1. ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 70 %
2. ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกร เนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
3. ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู " ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน"
4. ได้ปุ๋ยอินทรีย์
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
1. ควรสร้างบนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
3. วัสดุมุงหลังคา เช่น แฝก จาก กระเบื้อง
4. พื้นที่สร้างคอก คำนวณจาก จำนวนสุกร 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.2 ตารางเมตร
การเตรียมพื้นที่คอกหมูหลุม1. ขุดดินออกในส่วนพท้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 ซม.
2. ใส่แผ่นไม้หรืออิฐบล๊อค กั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุม สูงประมาณ 1 ฟุต
3. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย
  • ขี้เลื่อย หรือแกลบ          100 ส่วน
  • ดินส่วนที่ขุดออก             10 ส่วน
  • เกลือ                               0.5 ส่วน

                          ผสมขี้เลื่อยหรือแกลบกับดินและเกลือใส่ลงไปเป็นชั้น ๆ สูงชั้นละ 30 ซม. แล้วราดด้วยน้ำหมักชีวภาพลงบนแกลบ ให้มีความชื้นพอหมาด ๆ โรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ ทำจนครบ 3 ชั้น  ชั้นบนสุดโดรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ
4. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
การจัดการเลี้ยงดู
  1. การนำลูกหมู ควนมีน้ำหนักตั้งแต่ 15-20 กก.
  2. ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อน หลังจากนั้นเมื่อเป็นหมูรุ่น (น้ำหนัก 30-40 กก.) ค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารผสมพวกรำ  ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
  3. น้ำดื่มให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร น้ำหมักผลไม้ อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
  4. ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
  5. หากขี้เลื่อยหรือกลบยุบตัวลงให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
สูตรอาหารหมักสำหรับหมูหลุม
วัตถุดิบ
- พืชสีเขียวหรือผลไม้   100 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายแดง           4  กิโลกรัม
- เกลือเม็ด                       1  กิโลกรัม
วิธีการทำ
1. นำผลไม้หรือพืชผักสีเขียวที่เหลือใช้จากครัวเรือนหรือการเกษตร เช่น หยวกกล้วย บอน ปอสา พืชสีเขียวหรือเศษผักต่าง ๆ นำมาสับให้ละเอียด
2. นำน้ำตาลทราบอดงและเกลือเม็ดโรยคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. เอาบรรจุลงในถังหมักโดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือ 1 ใน 3 ส่วนของถัง ปิดด้วยกระดาษที่อากาศผ่านเข้าออกได้หมักไว้ 7 วัน ถ้าอากาศร้อน 5 วัน ก็ใช้ได้
 วิธีการใช้
               นำส่วนพืชหมักผสมกับรำข้าวอ่อนและปลายข้าวในอัตราส่วน พืชหมัก : รำอ่อน : ปลายข้าว : เท่ากับ  2 : 2 : 1 ให้หมูกินวันละ 2 มื้อ เช้า เย็นส่วนน้ำที่ได้จากการหมักก็นำมารดคอกหมู เพื่อลดกลิ่นหมูได้ 

ภาพการศึกษาดูงานที่จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ 2554

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554

                       ศูนย์ เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกสุรินทร์ บ้านทับไทย ที่นี้เราได้พบกับอาจารย์กัญญา อ่อนศรี และคุณลุงวรพล พอตัว อาจารย์ทั้งสองได้ให้ความรู้ในเรื่อของการรวมกลุ่ม ก่อตั้งเมื่อ พศ. 2542 การ พึ่งพาตนเอง อาจารย์กัญญาผู้ก่อตั้ง ตลาดเขียว หรือตลาดปลอดสารพิษ นอกจากนี้อาจารย์กัญญายังได้ไปดูงานที่ต่างประเทศอีกหลายๆประเทศ ส่วนคุณลุงวรพลมีการรวบรวมข้อมูลทำเป็นหนังสือ เกษตรอินทรีย์ 4 ปีให้ผลอีกด้วย

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554

                     ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 พ่อ คำเดื่อง ภาษี พ่อคำเดื่อง สอนรู้จักการใช้ชีวิต การเกิดมีชีวิตดีอย่างไร สอนให้รู้จักโลก โลกของเราโดนคนทำอะไรไว้บ้าง พ่อคำเดื่องบอกว่าเราเชื่อตามชาวต่างชาติมาก ต่อไปนี้เราจะต้องเชื่อตัวเอง ให้ตัวเองเป็นคนนำ ในไร่ของพ่อคำเดื่องมีการทำเกษตรปราณีตคือทำได้ในพื้นที่แคบๆ มีข้าวสีเหล็ก เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน ที่ดินของพ่อคำเดื่องปลูกต้นไผ่ไว้ล้อมรอบ ด้านในปลูกกล้วยไล่ลำดับลงมา

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554


                      การทำเกษตรผสมผสานของพ่อสุวรรณ กันภัย พ่อสุวรรณเป็นลูกชาวนา มีฐานะยากจน คุณพ่อเสียตั้งแต่อายุ 12 ปี พ่อสุวรรณมีพี่นอง 5 คนเมื่อก่อนพ่อสุวรรณไปทำสวนยางอยู่ที่ภูเก็ตและไปอยู่กรมทดลองพันธืไม้ทุกชนิด ที่ดินในปัจจุบันนั้นเป็นของพ่อตาแม่ยาย ที่ดิน 9 ไร่ของพ่อสุวรรณเป็นพื้นที่เพาะปลูก ไม่ใช้การทำนา มีการทำสวนผสม เมื่อก่อนพ่อสุวรรณปลูกต้นมะนาว 200 ต้นเพื่อทดแทนการสั่งมะนาวจากกรุงเทพฯ เป็นพันธุ์ใหม่ที่พ่อคิดขึ้นเอง ปักกิ่งเอง ตอนเอง พ่อทำเองหมดและส่งขายในสามอำเภอในสุรินทร์ ลูกมะนาวขึ้นดกเต็มต้นแต่สุดท้ายก็ตายหมด พ่อบอกว่าทุกอย่างทำต้องมีจิตกำหนด ทำไปเรื่อยๆแล้วจะเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมาเอง พ่อสุวรรณเป็นผู้นำโดยให้คนอื่นเห็นแล้วทำตาม

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554

                        พ่อ เสวย ผู้รอบรู้ด้านสมุนไพร พ่อเสวยมีความรู้เรื่องสมุนไพรมาตั้งแต่อายุสามขวบและรู้จักนั่งสมาธิ ตั้งแต่สามขวบเช่นกัน เคยเรียนที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ เคยเป็นทหารพลร่มและออกจากราชการเมื่ออายุ 52 ปี พ่อเสวยถือศีล 5 และศีล 8 ถือสินมาแล้วสามสิบปี พ่อเสวยได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากคุณยาย คุณยายที่เป็นคนเขมรสุรินทร์

ความประทับใจที่แตกต่าง
               จากการไปดูงานเป็นเวลา 4 วัน 3 คืนที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ความรู้ที่เยอะมากบวกกับความแตกต่างในแต่ละความรู้ จากการถ่ายทอดจากปราชญ์ชาวบ้านแต่ละท่าน ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆที่ไม่เคยได้พบเจอ ได้รู้ถึงประวัติของนักปราชญ์แต่ละท่าน การต่อสู้ชีวิตของท่าน จนมีวันนี้ได้แต่ล่ะท่านได้ผ่านอุปสรรค ความยากลำบากมาเพียงใด จนประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ เป็นที่นับถือ เป็นที่เคารพของผู้คนมากมาย นอกจากได้ความรู้แล้วยังได้ความสนุกสนานกับการไปเที่ยวที่สวนช้างจังหวัดสุรินทร์และปราสาทเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์อีกด้วย การดูงานครั้งนี้เป็นไปตามความคาดหวังของข้าพเจ้าคือ มาเพื่อนำประสบการณ์กลับไป




ตลาดเขียว [ตลาดปลอดสารพิษ] จังหวัดสุรินทร์




              

ศูนย์ศึกษาคชสาร
จังหวัดสุรินทร์  




ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์











                                                  เพื่อนๆที่น่ารัก ^ ^

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

"การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ"


                ทำไมกลุ่มผู้สูงอายุถึงมีความสำคัญ "เพราะว่าคนไทยนับถือและให้ความเคารพกับผู้สูงอายุหรือผู้มีอวุโสกว่ามาตั้งแต่ในอดีตแล้ว" ปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี โดยในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการว่ามีผู้สูงอายุถึง 140,000 คนและจะเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก 15 ปีข้างหน้าใน ขณะที่วัยทำงานซึ่งเป็นวัยที่ช่วยเหลือกลับลดลงตามกาลเวลา ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผู้สูงอายุเหล่านั้นจึงต้องพึ่งพิงบุตรหลาน ตลอดจนความช่วยเหลือจากรัฐ และหากความช่วยเหลือจากรัฐนั้นต้องมาจากภาษีของประชากรวัยทำงาน ในอนาคตอันใกล้นี้ภาระแบกรับเหล่านี้จะกลายเป็นภาระที่หนักมากสำหรับประชากร วัยทำงาน และจะกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในอนาคต
                 ดังนั้นคนในสังคมต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะสูงวัย ทั้งการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจการเงิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงสุขภาพ หากแต่ที่สำคัญคือจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 กลับพบว่าผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 43 หรือเกือบครึ่ง ที่ไม่ได้เตรียมการเพื่อยามสูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพกาย ด้านการศึกษาธรรมะหรือเข้าหาศาสนา การเตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัย หลักประกันด้านการเงิน ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยต้องตกอยู่ในภาวะยากจน และลำบากเมื่อเข้าสู่ภาวะสูงวัย ประเด็นที่ยังคงน่าเป็นห่วงในปัจจุบันคือ ประชากรไทยมีการเตรียมการเพื่อยามสูงวัยค่อนข้างช้าหรือเตรียมตัวเมื่ออายุค่อนข้างมาก ทั้ง ที่ในหลายเรื่องควรจะเตรียมตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยเริ่มทำงานอย่างเช่นใน เรื่องของการออมควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้มีวินัยและติดเป็นนิสัย แต่ที่ผ่านมาพบว่าประชากรไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และในด้านสุขภาพก็เช่นกัน ความใส่ใจสุขภาพควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่เมื่อสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้เสื่อมถอยลงจนอาจสายเกินไปที่จะฟื้นฟู หรือเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพเท่านั้น การเตรียมตัวนั้นควรเตรียมตัวในทุกๆด้าน เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้มากและนานที่สุดทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การอยู่อาศัย และการเงิน

การขอสวัสดิการผู้สูงอายุจากรัฐบาลในการรับเงินสวัสดิการ 500 บาทนั้นมีเอกสารดังนี้
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
ในประเทศไทยเรา ถือว่ามีผู้สูงอายุ ถึง 11 เปอเซ็นต์ซึ่งเป็นอัตตราของผู้สูงอายุที่ค่อนข้างสูงโดยปกติแล้ว มีข้อกำหนด อยู่ที่ 10 เปอเซ็นต์ถ้ามากกว่านี้ ถือว่าสังคมนั้น "เข้าสู่สังคมสูงอายุแล้ว"
คำ ว่าผู้สูงอายุ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทยอีกต่อไป ซึ่งทุกคนควรต้องทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการรับมือก่อนที่สังคมไทย และสังคมโลกจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

รับสมัครผู้ร่วมงาน!!

-----ตำแหน่ง-----
**รับจ้างเก็บผลไม้**

-----คุณสมบัติ-----
1. ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
2. อายุ 18 ปีขึ้นไป
3. เพศ หญิงและชาย
4. ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์
5. มีความรับผิดชอบ อดทนต่อสภาพอากาศกลางแจ้ง
6. สามารถทำงานที่ต่างจังหวัดได้

-----ติดต่อ-----
คุณจุฑามาศ  http://agriculture-commu.blogspot.com/


สามารถติดต่อได้ด้วยตนเองหรือกรอกข้อมูลได้ที่เว็บไซต์

การปลูกข้าวอินทรีย์

     "เกษตร" สำหรับคนไทยเป็นอาชีพที่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่อดีต สมัยก่อนเราเรียกเกษตรกรว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เพราะประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ในอดีตเกษตรกรปลูกข้าวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน หลังจากนั้นมีการปลูกข้าวเพื่อการแลกเปลี่ยน ค้าขาย ภายในประเทศ แต่สำหรับในปัจจุบันประเทศไทยของเรานอกเหนือจากปลูกข้าวเพื่อการบริโภคและค้าขายภายในประเทศแล้ว ยังปลูกเพื่อการส่งออกในต่างประเทศอีกด้วย

การส่งเสริมชุมชนในการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การ ส่งเสริมชุมชนในการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการโดย โครงการฟื้นฟูลุ่มน้ำชี มุ่งเน้นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเรียนรู้โดยเกษตรกร จากการปฏิบัติจริง ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมในเชิงแนวคิด เทคนิควิธีการ องค์ความรู้แบบบูรณาการ ทั้งท้องถิ่นและวิชาการ เพื่อค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง ศักยภาพที่เป็นต้นทุนในการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเงื่อนไขปัจจัยภายนอก เพื่อนำมาตัดสินใจและวางแผน กิจกรรมที่ดำเนินการ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในวิธีการผลิต ที่สัมพันธ์กับฐานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า เพื่อให้เกิดการพึ่งพา และเกื้อกูล สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ ที่เป็นหลักการพื้นฐานของการทำเกษตรแบบยั่งยืน ให้ชุมชนสามารถน้อมนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวโครงการพระราชดำริของในหลวงมาปรับใช้ให้สอดคล้องและพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน
 

กิจกรรมแปลงสาธิตเกษตรยั่งยืน  ที่ เน้น ข้าวอินทรีย์ มันสำปะหลัง และอ้อยอินทรีย์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจกลักของคนลุ่มน้ำชี การดำเนินการโดยให้คนในชุมชนเข้าร่วมเป็นเกษตรอาสาสมัคร  จากพื้นที่ 4 ตำบล  ตำบลท่าศาลา  ตำบลโพนเพ็ก  ตำบลหนองแปน ตำบลคำแคน  ได้ ร่วมคิดค้น เรียนรู้ ปฏิบัติการโดยมีเป้าหมายที่จะลดการชะล้าง การพังทลายของหน้าดิน ลดการใช้สารเคมีและยาปราบศรัตรูพืชต่างๆ จากภาคการเกษตร การสะสมสารพิษในแหล่งน้ำต่างๆและในแม่น้ำชีโดยตรง รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคการเกษตรทั้ง ในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้มีผลผลิตหลากหลายได้อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศ ลุ่มน้ำชีและการรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำชี เพื่อให้เกื้อหนุนต่อวิถีชุมชนในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ซึ่งทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจต่อครอบครัว และชุมชน 
  
กิจกรรมที่มีการส่งเสริมสนับสนุน
   การปลูกข้าวอินทรีย์ 

โครงการ ได้มีการส่งเสริมชุมชนในการทำนาข้าวอินทรีย์ ทั้งนาปี และนาปรังในการลดใช้สารเคมีในการทำนาในพื้นที่ลุ่มน้ำชี ซึ่งที่ผ่านมามีการตระหนักถึงผลกระทบที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อฐาน ทรัพยากรชุมชน ดิน และน้ำในลุ่มน้ำต่างๆโดยเฉพาะลุ่มน้ำชี  มีการปนเปื้อนสารเคมี ทำให้เกิดผลกระทบกับสัตว์น้ำและวิถีชีวิตของคนในชุมชนในการใช้ประโยชน์  จาก การดำเนินการที่ผ่านมาเกิดต้นแบบในการเปลี่ยนแปลง ในการทำนาอินทรีย์ และมีการขยายผลอย่างต่อเนื่อง และมีการปลูกข้าวแบบปักดำกอเดียวซึ่งได้เป็นอย่างดี
 เกษตรกรไทยจะทำให้ประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรมที่รุ่งเรืองได้ ถ้าพวกเขาได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่และถูกทิศทาง เพราะเกษตรกรไทยเป็นรากฐานให้กับประเทศได้อย่างแท้จริง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/ChiProject/2010/02/15/entry-1




วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

คิด..สร้าง..ทำ เพื่อวันข้างหน้า แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา
อันเนื่องมาจากพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว 
 แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำรัส มากมายหลายประเภท
ในปัจจุบัน ล้วนเกิดขึ้นด้วยพระอัจฉริยะภาพ และพระปรีชาสามารถ
ที่ทรงนำประสบการณ์ จากการทรงงานหนักมาตลอดกว่าครึ่งศตวรรษ
มาวิเคคราะห์ คิดค้น ดัดแปลง และปรับปรุงให้เกิดผลในการแก้ไข
หรือ บรรเทาปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทรงยึดหลัก ความเรียบง่าย (Simplicity) ที่มุ่งเน้นความสมเหตุสมผล การปฎิบัติได้รวดเร็ว แก้ไขปัญหาได้จริง
และยืนอยู่บนแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้แนวคิดและทฤษฎีพัฒนาเหล่านั้น
ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปประโยคง่ายๆ ที่คนไทยสามารถจดจำ เข้าใจ
และปฎิบัติให้บรรลุผลสำเร็จได้โดยง่าย